วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

จัดอันดับภาษาโลก



ในขณะที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศที่นับวันต้องอาศัยการสื่อสารคมนาคมซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็วฉับพลัน ภาษาที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อกันซึ่งมีทั้งภาษาที่เป็นตัวอักษร และที่ไม่มีตัวอักษร ได้แก่ “วัจนภาษา” และ “อวัจนภาษา” นั้น เวิร์ลบุ๊คเอ็นไซโคลปีเดีย ได้สำรวจ พบว่าประชากรของโลก ๗,๐๐๐ ล้านคน ในปัจจุบันใช้ภาษาสื่อกันเป็นจำนวนถึง ๒๓๖ ภาษา ในภาษาที่หลากหลายขนาดนี้ ภาษาที่มนุษย์นำมาใช้มากที่สุด ๒๕ ภาษา ได้แก่ภาษาต่างๆ เหล่านี้คือ อันดับ ๑ ภาษาจีนกลาง มีผู้ใช้ ๙๕๒ ล้านคน อันดับ ๒ ภาษาอังกฤษ มีผู้ใช้ ๔๗๐ ล้านคน อันดับ ๓ ภาษาฮินดี มีผู้ใช้ ๔๑๘ ล้านคน อันดับ ๔ ภาษาสเปน มีผู้ใช้ ๓๘๑ ล้านคน อันดับ ๕ ภาษารัสเซีย มีผู้ใช้ ๒๘๘ ล้านคน อันดับ ๖ ภาษาอาหรับ มีผู้ใช้ ๒๑๖ ล้านคน อันดับ ๗ ภาษาเบงกาลี มีผู้ใช้ ๑๙๖ ล้านคน อันดับ ๘ ภาษาโปรตุเกส มีผู้ใช้ ๑๘๒ ล้านคน อันดับ ๙ ภาษามาเลย์-อินโดนีเซีย มีผู้ใช้ ๑๕๕ ล้านคน อันดับ ๑๐ ภาษาญี่ปุ่น มีผู้ใช้ ๑๒๖ ล้านคน อันดับ ๑๑ ภาษาฝรั่งเศส มีผู้ใช้ ๑๒๔ ล้านคน อันดับ ๑๒ ภาษาเยอรมัน มีผู้ใช้ ๑๒๑ ล้านคน อันดับ ๑๓ ภาษาปัญจาบ มีผู้ใช้ในรัฐปัญจาบ ปากีสถาน และอินเดีย ๙๔ ล้านคน อันดับ ๑๔ ภาษาเกาหลี มีผู้ใช้ในเกาหลี จีน และญี่ปุ่น ๗๕ ล้านคน อันดับ ๑๕ ภาษาโรมันนี มีผู้ใช้ ๗๒ ล้านคน อันดับ ๑๖ ภาษาหวู มีผู้ใช้ใน เซี่ยงไฮ้ และประเทศจีน ๖๔ ล้านคน อันดับ ๑๗ ภาษาเวียดนาม มีผู้ใช้ ๖๔ ล้านคน อันดับ ๑๘ ภาษาชวา มีผู้ใช้ ๖๔ ล้านคน อันดับ ๑๙ ภาษากวางตุ้ง มีผู้ใช้ในประเทศจีน รวมฮ่องกง ๖๖ ล้านคน อันดับ ๒๐ ภาษาตรุกี มีผู้ใช้ ๕๙ ล้านคน อันดับ ๒๑ ภาษาไทย มีผู้ใช้ ๕๔ ล้านคน อันดับ ๒๒ ภาษามิน มีผู้ใช้ในประเทศจีนตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน และมาเลเซีย ๕๓ ล้านคน อันดับ ๒๓ ภาษาตากาล้อก มีผู้ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์ ๕๓ ล้านคน อันดับ ๒๔ ภาษาสวาฮิลี มีผู้ใช้ในประเทศเคนยา แทนซาเนีย แซร์ และอูกานดา ๔๘ ล้านคน อันดับ ๒๕ ภาษากานนาดา มีผู้ใช้ในอินเดียตอนใต้ ๔๔ ล้านคน จะเห็นได้ว่าภาษาไทยจัดเป็นภาษาที่มีการใช้มากเป็นอันดับที่ ๒๑ ของโลก นอกจากทั้ง ๒๕ อันดับ ยังมีภาษาของโลกที่มีชื่อแปลกๆ อีก ๒๑๑ ภาษา เช่น อาชิน (สุมาตราเหนือ อินโดนีเซีย) อาฟกัน แอฟริกัน (แอฟริกาใต้) อาคัน (ใช้ในประเทศกานา) อัลเบเนีย อัมฮาริก อาร์เมเนีย อัสสัม (ใช้ในอินเดีย และบังคลาเทศ) อัยมารา (ใช้ในประเทศโบลิเวีย เปรู) อะเซรี (ใช้ในอะเซอไบยัน) บาหลี บาลูชี (ใช้ใน บาลูชิสถาน ปากีสถานตะวันออกเฉียงใต้) บาชกีร์ (ใช้ในบาชกอร์โตสถาน รัสเซีย) บาตักโตบา (ใช้ในอินโดนีเซีย) บอเล (ใช้ในประเทศโคตดิวัวร์) เบจา (ใช้ในกัสซาลา ประเทศซูดาน ประเทศเอธิโอเปีย) เบ็มบา (ใช้ในประเทศแซมเบีย) เบอร์เบอ เบติ (ใช้ในประเทศกาบอง แคเมรูน กินนีแถบศูนย์สูตร) บิลิ (ใช้ในอินเดีย) บิกล (ใช้ในลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์) บราห์วี (ใช้ในปากีสถาน) บูกิส (ใช้ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย) บัลเกเรีย พม่า บูยี (ใช้ในกุ๋ยซื่อ ประเทศจีน) ไบโลรุส (ใช้ในเบลารุส) คาตาลาน (ใช้ในสเปนตะวันออกเฉียงเหนือ เกาะเบเลริค ฝรั่งเศสตอนใต้ และประเทศแอนดอรา) เซบัวโน (ทะเลโบโฮล ฟิลิปปินส์) ชักกา (แถบคิลิมานจาโร ประเทศแทนซาเนีย) ชิกา (ใช้ในประเทศยูกันดา) ชูวัช (ใช้ในชูวัช รัสเซีย) เช็ก (สาธารณรัฐเช็ก) เดนมาร์ก ดิมลิ (ตรุกี) โดกริ (ยัมมูร์-กัษมีระ อินเดีย) ดง (ประเทศจีน) ดัทช์-เฟลมมิช (ใช้ในประเทศเนเธอร์แลนด์) เบลจ์ (ฝรั่งเศสตอนเหนือ) ไดเยอร์มา (ไนเกอร์ตอนเหนือ) อีโด (เบนเดล ไนจีเรียใต้) อีฟิก (ไนจีเรียตะวันออกเฉียงใต้) เอสโทเนีย อีว (กานาตะวันออกเฉียงใต้ โตโกตอนใต้) ฟินนิช ฟอน (เบนินตอนกลางใต้ โตโก) ฟูลา (แคเมอรูน ไนจีเรีย) ฟูลากันดา (เซเนกัล แกมเบีย กินนีบิเซา) ฟูตา-จาลอน (กินี เซียราเลโอน) กาลิเซียน (แกลเซีย สเปนตะวันตกเฉียงเหนือ) กานดา (ยูกันดาตอนใต้) จอร์เจีย กิลากิ (กิลาน อิหร่าน)




3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2552 เวลา 20:00

    ถึงภาษาจีนจะมีผู้ใช้มาก
    ก็ไม่ได้หมายความว่า
    ภาษาจีนสำคัญที่สุดใช่มั๊ย
    เพราะในตอนนี้ภาษาที่เป็นทางการที่สุด
    ที่ทุกคนสื่อสารกัน
    ก็เป็นภาษาอังกฤษไม่ใช่หรือ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 22:16

    ภาษาจีนใช้กัลเยอะ อาจเปนเพราะมีคนจีนเยอะมั้ง ดุสิทุกวันนี้ไม่ว่าทวีปไหนก้อมีเชื้อชาติจีน(คนจีน) โรงเรียนจีน เต็มไปหมด มันจะไม่ใช้เยอะได้ยังไงกัน

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 22:17

    ช่ายๆๆๆๆ เราก้อว่าง้ั้ลแระ ^^

    ตอบลบ