วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

เรียนภาษาจีน-Learn Chinese

การเรียนภาษาจีนมีมาอยู่คู่กับชุมชนชาวจีนมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่ไม่มีความต่อเนื่อง บางช่วงก็สอนกันอย่างสง่าผ่าเผย บางช่วงเทบจะต้องสอนกันแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ตามแต่สถานะการณ์ทางการเมือง จึงทำให้-ลูกหลานคนจีนในประเทศไทยเป็นจีนแต่เพียงหน้าตา “ตี๋-หมวย” เท่านั้น
แต่ปัจจุบันนี้ กระแสจีนเริ่มก่อกระแสแรงไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นหากแต่แรงไปทั่วโลก โรงเรียนสอนภาษาจีนจึังอาศัยเกาะตามกระแสเปิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีถ้าหากแต่ละโรงเรียนที่เปิดขึ้นมารักษาคุณภาพในการเรียนการสอน จริง ๆ ก่อนที่จะถึงวันนี้ กระทรวงศึก-ษาธิการเองก็เคยกำหนดหลักสูตรภาษาจีน เป็นวิชาเลือกในระดับมัธยมและอาชีวะกันก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เนื่องจากผู้สอนไม่ใช่ผู้ที่เรียนภาษาจีนมาอย่างแตกฉาน เป็นเพียงแต่ “เคยเรียนมาบ้าง” เสียงส่วนใหญ่ อีกทั้งสำเนียงที่สอนก็ไม่เป็นสากล เนื่องจากสอนออกเสียงตามภาษาแต้จิ๋วส่วนผู้เรียนก็มุ่งเรียนเพื่อให้ครบหน่วยกิตเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย ถือเป็นการสูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง
การเรียนภาษาจีนอาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะสำ-หรับคนที่เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เนื่องจากภาษาจีนเป็นคำโดด ไม่ใช่เกิดจากการผสมต้ัวพยัญชนะและสระอย่างภาษาอังกฤษ หรือภาษา-ไทย เฉพาะตัวอักษรที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันก็มีถึงหลายพันตัวแล้ว อีกอย่างการจะอ่านภาษาจีนได้ก็ต้องศึกษาวิธีการสะกดเทียบเสียงในอดีตเราจะใช้ตัวจู้ยิน 注音 หรือคนที่เคยเรียนจีนมาบ้างอาจเรียก เปอเพอ เมอ เฟอ ซึ่งต้องเสียเวลาเรียนเป็นสัปดาห์กว่าจะเรียนตัวอักษรจีนจริง ๆ ได้ แต่ปัจจุบันนี้ รัฐบาลจีนซึ่งคงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึังได้ปฏิรูประบบการศึกษาภาษาจีนใหม่เพื่อให้ง่ายขึ้น อย่างน้อยผลจากการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดก็มีสองประเด็นคือ 1. การเปลี่ยนระบบการสะกดคำและเทียบเสียงจากจู้ยิน 注音 เป็นแบบพิงยิน 拼音 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากตัวสัญลักษณ์จุ้ยินเป็นการใช้ตัวพยัญชนะและตัวสระภาษาอังกฤษแทน เนืื่องจากภาษาอังกฤษมีการเรียนในทุกประเทศอยู่แล้ว 2. เปลี่ยนรูปตัวอักษรภาษาจีนให้เขียนง่ายขึ้น เช่นจากเดิมการเขียนหนึ่งตัวอักษรอาจต้องเขียนถึงสิบกว่าขีด ก็ลดลงมาเหลือ 6-7 ขีดเป็นต้นตัวอย่างเช่นจาก 国际 กั๊วจี้ก็เปลี่ยนรูปเป็น 国际
แต่การสะกดและเทียบเสียง ระจะต้องระมัดระวังที่จะจำปะปนกับวิธีที่เราเคยชินอยู่แล้ว เช่น ตัว “Z” ปรกติเราจะเคยชินออกเสียงเป็น ซ “Q” ปรกติเราจะเคยชินออกเสียงเป็น ค หรือ คว ส่วน “E” เป็นสระ-อี หรือสระ-เอ ในมาตรฐานในการเทียบเสียงของจีนตัว Z เป็น จ ตัว Q ออกเสียงเป็น ช ส่วน E ออกเสียงเป็นสระ-เออ ดังตัวอย่างเช่น เหมาเจ๋อตงเรามักออกเสียงเป็น เมาเซตง ตามภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนตามวิธีการเทียบเสียงแบบพิงยิน คือ mao-ze-dong หรือ qin ออกเสียง ชิง เป็นต้น

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2552 เวลา 20:14

    เคยเรียนแหละ

    แต่ตอนนี้ก็ลืมไปจะหมดละ

    สนุกดีนะภาษาจีนอ่ะ

    ลองเรียนดูดิ

    ตอบลบ
  2. เราก้อเคยเรียนเหมือนกัน
    แล้วก้อลืมเหมือนกัน
    เราว่ามันเขียนยากมากเลยนะ
    แต่มันก้อสวยมากอีกเช่นกัน

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ16 มกราคม 2552 เวลา 22:53

    อยากเรียนมากเลย

    แต่ไม่ค่อยมีเวลาซักทีเลยอ่ะ

    ทำไงดี

    ตอบลบ