วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

เหตุผลที่ ภาษาจีน (แมนดาริน) ยังเป็นรอง


เรียนรู้พื้นฐาน การเขียนตัวหนังสือจีนอย่างถูกต้อง จากพื้นฐานของเส้นขีด แบ่งออกเป็น 4 ตอนดังนี้

ตัวหนังสือจีน และโครงสร้าง
ตัวหนังสือจีนมีประวัติศาสตร์นับย้อนหลังได้กว่า 3000 ปี มักทราบกันว่า ตัวหนังสือจีน นั้นเหมือน ภาพวาด ของสิ่งของชีวิตความเป็นอย ู่ที่มีมาแต่ในอดีต เช่นเดียวกับ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ตามผนังถ้ำต่างๆ แต่ได้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเหมือนตัวหนังสือลักษณะสี่เหลี่ยม

ตัวหนังสือจีน จะแตกต่างตามอักขระในภาษาทั่วไป ซึ่งจะเขียนผสมตัวอักษรเข้าเป็นคำศัพท์ แต่ตัวหนังสือจีน แต่ละตัวจะไม่ต้องอาศัยการผสม เนื่องจากไม่มีอักขระ และในตัวหนังสือแต่ละตัวมี ความหมายที่สมบูรณ์ ตัวหนังสือจีนจะถูกเขียนโดยใช้เส้นขีดหลายลักษณะ รวมกว่า 30 แบบ


ใน 30 เส้นแบบ จะมีเพียงเส้นขีดพื้นฐาน อยู่ 8 ขีด ซึ่งเส้นขีดที่เหลือจะแปรผันรูปลักษณะไปจาก เส้นขีด 8 ขีดนี้เพียงเล็กน้อย การเขียนตัวหนังสือจีน โดยใช้เส้นขีดนั้น จะมีกฎในการเขียนและลำดับ เส้นขีดที่แน่นอน ซึ่งเป็นกฎครอบคลุมทั่วไป แต่เนื่องจากความซับซ้อน และวิวัฒนาการของตัวหนังสือ ทำให้ การเขียนบางตัวจะมีกฎยกเว้น หรือกฎพิเศษของมันเอง ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงทั้งหมดในที่นี้

ตัวหนังสือจีน ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวหนังสือเดี่ยว และตัวหนังสือผสม
ตัวหนังสือเดี่ยว คือตัวหนังสือที่เขียนโดยเส้นขีด มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว ไม่สามารถแบ่งย่อยลงไป
ตัวหนังสือผสม คือตัวหนังสือที่ประกอบไปด้วย อย่างน้อย 2 องค์ประกอบ หรือส่วนข้าง (หมายถึง ส่วนของตัวหนังสือที่มีตำแหน่งอยู่ส่วนข้างซ้าย, ข้างขวา, ข้างบน, ข้างล่าง, ข้างนอก หรือ ข้างใน) ผสมเข้าด้วยกัน เป็นตัวหนังสือ ส่วนข้างนี้บางตัวก็เป็นรากศัพท์ ซึ่งบ่งบอกความหมาย
ส่วนข้างบาง ตัวก็ใช้บ่งบอกเสียง ช่วยให้การ ค้นหาศัพท์ในพจนานุกรมจีนทำได้ง่าย ( ดูเทคนิคการค้นหาศัพท์ ในพจนานุกรมจีน )

การเข้าใจกฎในการเขียนตัวหนังสือจีน จะช่วยให้การเขียนและอ่านตัวหนังสือจีนเป็นไปอย่างง่ายดาย

เส้นขีดพื้นฐาน 8 ขีด จากทั้งหมดกว่า 30 ขีด
เราเริ่มจากเส้นขีด 8 ขีด และจะแสดงสรุปเส้นขีดอื่นๆ ที่เหลือด้วย


เส้นนอน ลากจากซ้ายไปทางขวา
เส้นลากลงไปทางซ้าย ลากจาก บนขวา ลงไป ล่างซ้าย
เส้นลากลงไปทางขวา ลากจาก บนซ้าย ลงไป ล่างขวา
จุด ลากจากบน ลงล่างขวา (ลากจากบน ลงล่างซ้าย)
เส้นตรงดิ่ง จากบนลงล่าง
เส้นขีดบางเส้นลากตวัดเป็นรูปตะขอ
เส้นลากขึ้นไปทางขวา ลากจากล่างซ้ายไปบนขวา
เส้นขีดหักมุม มี 2 แบบ เส้นนอนหักลง เส้นดิ่งลากลงหักขวา

ตัวอย่างเส้นขีด ที่แปรผันจากเส้นขีดที่ตวัดเป็นรูปตะขอ (gou)
เส้นนอนที่ตวัดเป็นตะขอลง
เส้นตั้งที่ตวัดเป็นตะขอซ้าย
เส้นโค้งยาวงอเป็นรูปตะขอขวา
เส้นโค้งสั้นงอเป็นรูปตะขอขวา
เส้นตั้งงอที่ตวัดเป็นตะขอซ้าย

เส้นขีดผสมจากเส้นขีดพื้นฐาน 8 ขีด

เส้นนอนตวัดลงซ้าย
เส้นนอนหักลงเป็นเส้นดิ่งแล้วตวัดเป็นตะขอ
เส้นนอนหักลงแล้วตวัดขึ้นบนขวา
เส้นนอนหักลงเป็นโค้งสั้นแล้วตวัดเป็นตะขอ
เส้นนอนหักลงแล้วต่อด้วยเส้นโค้งล่างซ้ายตะขอ
เส้นนอนหักลงแล้วต่อด้วยเส้นโค้งลงไปทางซ้าย
เส้นดิ่งแล้วงอไปทางขวาตวัดเป็นตะขอ
เส้นดิ่งลงหักขวาแล้วหักลงล่างตวัดเป็นตะขอ
เส้นดิ่งลงหักขวา
เส้นดิ่งลงแล้วลากขึ้นบนขวา
เส้นลากลงล่างซ้ายแล้วหักเป็นเส้นนอนไปทางขวา
เส้นลากลงล่างซ้ายแล้วลากลงขวาล่างสั้น

กฎของลำดับเส้นขีด ในการเขียนตัวหนังสือจีน
ทั่วไปแล้ว ตัวหนังสือจีน จะมีมากกว่า 2 ขีด ดังนั้นจะเขียนตัวหนังสือจีน จะต้องมีลำดับการขีด
เส้นนอนก่อนเส้นตั้ง เส้นนอน หรือเส้นผสมที่มีเส้นนอนจะถูกเขียน ก่อน เส้นดิ่งหรือเส้นลากลง ไม่ว่าซ้ายหรือขวา เช่น

เส้นลากลงทางซ้าย ก่อนเส้นลากลงทางขวา เช่น

จากบน ลงล่าง เช่น

จากซ้าย ไปขวา เช่น

จากนอก เข้าใน เช่น

ยกเว้น ส่วนประกอบที่ห่อหุ้มส่วนประกอบอื่น ไม่ว่าจะทางซ้าย, ขวา หรือ ล่างก็ตาม ส่วนประกอบที่ ถูกห่อหุ้มจะถูกเขียนก่อน เช่น


สรุป เส้นนอน ต้องลากจากซ้ายไปขวาเท่านั้น ไม่สามารถเขียนจากขวาไปซ้ายได้
เส้นตรงดิ่ง ต้องลากจากบนลงล่างเท่านั้น ไม่สามารถลากเส้นจากล่างขึ้นบนได้
เส้นลากลงทางขวา ต้องลากจากบนซ้ายลงล่างขวา ไม่สามารถลากจากล่างขวาขึ้นบนซ้ายได้
เส้นลากลงทางซ้าย ต้องลากจากบนขวาลงล่างซ้าย ไม่สามารถลากจากล่างซ้ายขึ้นบนขวาได้

ลักษณะเส้นขีด ผิดนิดเดียว ทำให้ตัวหนังสือเป็นคนละตัว
ตัวหนังสือประกอบไปด้วยจำนวนเส้นขีดและลักษณะเส้นขีดที่แน่นอน ดังนั้นการอ่านหรือเขียน ตัวหนังสือ ต้องมีความละเอียดในการสังเกตุลายเส้น เช่น
ตัวอย่าง 1 ตัว และ ต่างกันตรงขีดแรก ถ้าเป็นขีดเส้นนอน (heng2) จะเป็น ออกเสียง (tian1) หมายถึง ท้องฟ้า, สวรรค์ แต่ถ้าขีดแรกเป็นเส้นลากจากขวาบน ลงซ้ายล่าง (pie3) จะเป็น ซึ่งออกเสียง yao1 หมายถึง ตายตอนอายุน้อย ก่อนเวลาควรจะเป็น

ความยาวของเส้นขีด และช่องว่างระหว่างขีด ก็มีผลทำให้เป็นตัวหนังสือคนละตัว
ตัวอย่าง 2 ตัว ใน
ถ้าขีดสั้น ก็จะเป็น ซึงออกเสียง (ru4) หมายถึง เข้า, ร่วม แต่ถ้ามีช่องว่างระหว่าง เส้นก็จะเป็น ออกเสียง (ba1) หมายถึง แปด

และยังต้องให้ความสำคัญกับ การที่เส้นขีดสัมผัส หรือตัดกัน เช่น ตัว ตัดกับเส้นนอนเส้นแรก ก็จะกลายเป็นตัว ออกเสียง (fu1) หมายถึง สามี, ผู้ชาย

จำนวนเส้นขีดในตัวหนังสือ มีจำนวนแน่นอน ไม่สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ เช่น ถ้าเพิ่มขีดเส้นนอน จะเป็น หรือ แต่ถ้าลดลงจะเป็น

ตำแหน่งของขีด จะมีตำแหน่งแน่นอน การเปลี่ยนตำแหน่งของเส้นขีด จะทำให้เป็นตัวหนังสือคนละ ตัว เช่น ส่วนประกอบ 2 ส่วนของตัว ถ้าสลับกันจะเป็น ซึ่งออกเสียงเป็น pei2 หมายถึง พาเที่ยว
แต่ถ้า เราใส่ตำแหน่งจุดเปลี่ยนไป เช่นจาก เป็น ก็จะออกเสียง (ฉวน quan3) หมายถึง สุนัข,หมา

ข้อยกเว้น กฎข้างต้นเป็นกฎทั่วไป ซึ่งมีปลีกย่อยซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ถูกครอบคลุมโดยกฎดังกล่าว เช่น
เช่น กรณีเป็นสี่เหลี่ยมปิด ให้เขียนเส้นแรกของกรอบนอกก่อน แล้วจึงเขียนส่วนที่ถูกห่อหุ้มภายใน แล้วปิดกรอบนอก ด้วยเส้นนอนใต้สุด ดังตัวอย่าง


เส้นขีดกลางก่อนเส้นซ้ายขวา เมื่อมีเส้นขีดกลางที่อยู่ตรงกึ่งกลาง และเป็นตำแหน่งเด่น และไม่มีเส้นอื่นลากตัด หรือมีเส้นใต้ขีดกลางนั้น ให้ลากเส้นขีดกลางก่อน เช่น


แต่ถ้ามีเส้นอื่น ลากตัดเส้นขีดกลาง หรือไม่มีเส้นอื่นอยู่ใต้เส้นขีดกลางนั้น ให้ลากเส้นตรงดิ่งหลังสุด (แทนที่จะลากก่อน)

"ตัวหนังสือจันมีเยอะ จำยาก ๆ ๆ ๆ "
............อาจเพราะเหตุผลนี้เองมั้ง ที่ภาษาจีนไม่ได้เป็นภาษาโลก............



ที่มา..http://www.china2learn.com/lesson/stroke.shtml



6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2552 เวลา 20:06

    อื่ม

    ยากจริงๆแหละ

    งั้นคนจีนก็เก่งมากเลยดิ

    ต้องจำทั้งหมดเลยสินะ

    เก่งๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 22:10

    กราก้อเคยเรียนนะ แต่มัลยากมากแระ ศัพท์ก้อเยอะไปหมด ไม่เหมือนภาษาอังกฤษอ่า น่าจาเหตุผลนี้มั้ง ถึงแพ้ภาษาอังกฤษ คิคิ^^

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 22:11

    แค่มองผ่านๆๆ ก้อไม่อยากอ่านแร้วววว ยากเกิ้น

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 22:13

    วุ้วววว ทำไมมัลหลายขีดจัง !!! ฟังก้อยากแระ เขียนก้อยากอิก ~~

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2552 เวลา 22:31

    การเขียนตัวอักษรมันยาก แต่ความเป็นสากลของภาษาอังกฤษมันง่ายกว่ามั้ง ดุิสิแค่ภาษาอังกฤษแค่ 24 ตัวก็จำแทบไม่ได้แล้ว แต่ภาษาจีนสิ มีขั้นพื้นฐานมากกว่า30ตัวอิก แถมออกเสียงก้อยากกว่า ยากจัง

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ16 มกราคม 2552 เวลา 22:58

    ลองทำดูแล้วยากจังเลยอ่ะค่ะ

    มันออกมาไม่สวยเหมือนในตัวอย่างเลยอ่า

    ตอบลบ