วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

อักษรจีนมงคล 8 ประการ


8 คำนี้ เป็นคำที่ชาวจีนสมัยก่อนได้รับการสั่งสอนให้ยึดมั่นปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักธรรมสำคัญประจำใจตลอดชีวิต ซึ่งแต่ละคำก็มีหลักธรรมที่สมควรจดจำ และนำ ไปปฏิบัติตาม ดังนี้

หมายถึง ความจงรักภักดีต่อพระราชาหรือเจ้านายของตน เป็นลักษณะ โดดเด่นของวัฒนธรรมจีนที่เน้นคุณธรรมในสังคมสมัยใหม่ มีความหมายถึง ความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง หลายคนคงรู้จักคำว่า "ตงฉิน" ตงฉิน คือขุนนาง ผู้มี ความจงรักภักดีต่อเจ้านายของตน

หมายถึง ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนทุกคน แต่โบราณมีผู้กล่าวไว้ว่าความกตัญญูนี้เอง ทำให้ชาวจีนสามารถรักษาบ้าน เมืองได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ชนชาติเก่าอย่าง โรมัน, กรีก ได้สิ้นสลายไป นานแล้ว
หมายถึง คุณธรรม เป็นคุณธรรมของบัณฑิต (สุภาพบุรุษ) จีนที่ขงจื้อ ยกย่องว่า เป็นคุณธรรมที่เป็นรากฐานของ คุณธรรมทั้งปวง เป็นความใจดี ใจกว้าง ความหวังดี ความเมตตากรุณาต่อ
หมายถึง ความรัก ความชอบ ความรู้สึกอันลึกซึ้งที่มีต่อคนหรือสิ่งของ เดิมเขียนแบบอักษรเก่าจะมีตัว ที่แปลว่าหัวใจประกอบอยู่ด้วย หมายถึงความรัก (ชอบ) อะไร ก็ต้องรักด้วยหัวใจแสดงถึงความจริงใจ ที่มีต่อความรักนั้น แต่ปัจจุบันตัว ได้เขียนแบบตัวย่อคือ โดยตัดตัวที่ แปลว่าหัวใจออกไป ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการทางภาษา

หมายถึง ขนบธรรมเนียมและพิธีกรรมอันเป็นที่นิยมว่าถูกต้อง และงดงาม ในสังคมที่ตกทอดมาแต่โบราณ

หมายถึง สัจจะ ซึ่งเป็น 1 ในคุณธรรม 8 ข้อของชาวจีน ที่แสดงออก ด้วยความยึดมั่น ไม่ทิ้งเพื่อนในยามยากหรือในยาม มีภัย ต่อสู้เพื่อความถูก ต้องอย่างเด็ดเดี่ยว

หมายถึง ความสันโดษมักน้อย ความไม่โลภ ซึ่งเป็นคุณธรรมของขุนนาง จีนสมัยโบราณ และเป็นคุณธรรมที่หล่อเลี้ยงความซื่อสัตย์สุจริตของชาวจีน
หมายถึง ความละอาย คล้ายหิริโอตัปปะ คนที่มีความละอายใจเป็น ประจำอยู่ในกมลสันดานนั้น ก็จะมีหลักเหนี่ยวรั้งจิตใจไม่ให้กระทำใดๆ ไปตามกิเลส ทะยานอยากของตน

เรียนภาษาจีน-Learn Chinese

การเรียนภาษาจีนมีมาอยู่คู่กับชุมชนชาวจีนมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่ไม่มีความต่อเนื่อง บางช่วงก็สอนกันอย่างสง่าผ่าเผย บางช่วงเทบจะต้องสอนกันแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ตามแต่สถานะการณ์ทางการเมือง จึงทำให้-ลูกหลานคนจีนในประเทศไทยเป็นจีนแต่เพียงหน้าตา “ตี๋-หมวย” เท่านั้น
แต่ปัจจุบันนี้ กระแสจีนเริ่มก่อกระแสแรงไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นหากแต่แรงไปทั่วโลก โรงเรียนสอนภาษาจีนจึังอาศัยเกาะตามกระแสเปิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีถ้าหากแต่ละโรงเรียนที่เปิดขึ้นมารักษาคุณภาพในการเรียนการสอน จริง ๆ ก่อนที่จะถึงวันนี้ กระทรวงศึก-ษาธิการเองก็เคยกำหนดหลักสูตรภาษาจีน เป็นวิชาเลือกในระดับมัธยมและอาชีวะกันก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เนื่องจากผู้สอนไม่ใช่ผู้ที่เรียนภาษาจีนมาอย่างแตกฉาน เป็นเพียงแต่ “เคยเรียนมาบ้าง” เสียงส่วนใหญ่ อีกทั้งสำเนียงที่สอนก็ไม่เป็นสากล เนื่องจากสอนออกเสียงตามภาษาแต้จิ๋วส่วนผู้เรียนก็มุ่งเรียนเพื่อให้ครบหน่วยกิตเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย ถือเป็นการสูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง
การเรียนภาษาจีนอาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะสำ-หรับคนที่เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เนื่องจากภาษาจีนเป็นคำโดด ไม่ใช่เกิดจากการผสมต้ัวพยัญชนะและสระอย่างภาษาอังกฤษ หรือภาษา-ไทย เฉพาะตัวอักษรที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันก็มีถึงหลายพันตัวแล้ว อีกอย่างการจะอ่านภาษาจีนได้ก็ต้องศึกษาวิธีการสะกดเทียบเสียงในอดีตเราจะใช้ตัวจู้ยิน 注音 หรือคนที่เคยเรียนจีนมาบ้างอาจเรียก เปอเพอ เมอ เฟอ ซึ่งต้องเสียเวลาเรียนเป็นสัปดาห์กว่าจะเรียนตัวอักษรจีนจริง ๆ ได้ แต่ปัจจุบันนี้ รัฐบาลจีนซึ่งคงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึังได้ปฏิรูประบบการศึกษาภาษาจีนใหม่เพื่อให้ง่ายขึ้น อย่างน้อยผลจากการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดก็มีสองประเด็นคือ 1. การเปลี่ยนระบบการสะกดคำและเทียบเสียงจากจู้ยิน 注音 เป็นแบบพิงยิน 拼音 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากตัวสัญลักษณ์จุ้ยินเป็นการใช้ตัวพยัญชนะและตัวสระภาษาอังกฤษแทน เนืื่องจากภาษาอังกฤษมีการเรียนในทุกประเทศอยู่แล้ว 2. เปลี่ยนรูปตัวอักษรภาษาจีนให้เขียนง่ายขึ้น เช่นจากเดิมการเขียนหนึ่งตัวอักษรอาจต้องเขียนถึงสิบกว่าขีด ก็ลดลงมาเหลือ 6-7 ขีดเป็นต้นตัวอย่างเช่นจาก 国际 กั๊วจี้ก็เปลี่ยนรูปเป็น 国际
แต่การสะกดและเทียบเสียง ระจะต้องระมัดระวังที่จะจำปะปนกับวิธีที่เราเคยชินอยู่แล้ว เช่น ตัว “Z” ปรกติเราจะเคยชินออกเสียงเป็น ซ “Q” ปรกติเราจะเคยชินออกเสียงเป็น ค หรือ คว ส่วน “E” เป็นสระ-อี หรือสระ-เอ ในมาตรฐานในการเทียบเสียงของจีนตัว Z เป็น จ ตัว Q ออกเสียงเป็น ช ส่วน E ออกเสียงเป็นสระ-เออ ดังตัวอย่างเช่น เหมาเจ๋อตงเรามักออกเสียงเป็น เมาเซตง ตามภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนตามวิธีการเทียบเสียงแบบพิงยิน คือ mao-ze-dong หรือ qin ออกเสียง ชิง เป็นต้น