วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

อักษรจีนมงคล 8 ประการ


8 คำนี้ เป็นคำที่ชาวจีนสมัยก่อนได้รับการสั่งสอนให้ยึดมั่นปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักธรรมสำคัญประจำใจตลอดชีวิต ซึ่งแต่ละคำก็มีหลักธรรมที่สมควรจดจำ และนำ ไปปฏิบัติตาม ดังนี้

หมายถึง ความจงรักภักดีต่อพระราชาหรือเจ้านายของตน เป็นลักษณะ โดดเด่นของวัฒนธรรมจีนที่เน้นคุณธรรมในสังคมสมัยใหม่ มีความหมายถึง ความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง หลายคนคงรู้จักคำว่า "ตงฉิน" ตงฉิน คือขุนนาง ผู้มี ความจงรักภักดีต่อเจ้านายของตน

หมายถึง ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนทุกคน แต่โบราณมีผู้กล่าวไว้ว่าความกตัญญูนี้เอง ทำให้ชาวจีนสามารถรักษาบ้าน เมืองได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ชนชาติเก่าอย่าง โรมัน, กรีก ได้สิ้นสลายไป นานแล้ว
หมายถึง คุณธรรม เป็นคุณธรรมของบัณฑิต (สุภาพบุรุษ) จีนที่ขงจื้อ ยกย่องว่า เป็นคุณธรรมที่เป็นรากฐานของ คุณธรรมทั้งปวง เป็นความใจดี ใจกว้าง ความหวังดี ความเมตตากรุณาต่อ
หมายถึง ความรัก ความชอบ ความรู้สึกอันลึกซึ้งที่มีต่อคนหรือสิ่งของ เดิมเขียนแบบอักษรเก่าจะมีตัว ที่แปลว่าหัวใจประกอบอยู่ด้วย หมายถึงความรัก (ชอบ) อะไร ก็ต้องรักด้วยหัวใจแสดงถึงความจริงใจ ที่มีต่อความรักนั้น แต่ปัจจุบันตัว ได้เขียนแบบตัวย่อคือ โดยตัดตัวที่ แปลว่าหัวใจออกไป ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการทางภาษา

หมายถึง ขนบธรรมเนียมและพิธีกรรมอันเป็นที่นิยมว่าถูกต้อง และงดงาม ในสังคมที่ตกทอดมาแต่โบราณ

หมายถึง สัจจะ ซึ่งเป็น 1 ในคุณธรรม 8 ข้อของชาวจีน ที่แสดงออก ด้วยความยึดมั่น ไม่ทิ้งเพื่อนในยามยากหรือในยาม มีภัย ต่อสู้เพื่อความถูก ต้องอย่างเด็ดเดี่ยว

หมายถึง ความสันโดษมักน้อย ความไม่โลภ ซึ่งเป็นคุณธรรมของขุนนาง จีนสมัยโบราณ และเป็นคุณธรรมที่หล่อเลี้ยงความซื่อสัตย์สุจริตของชาวจีน
หมายถึง ความละอาย คล้ายหิริโอตัปปะ คนที่มีความละอายใจเป็น ประจำอยู่ในกมลสันดานนั้น ก็จะมีหลักเหนี่ยวรั้งจิตใจไม่ให้กระทำใดๆ ไปตามกิเลส ทะยานอยากของตน

เรียนภาษาจีน-Learn Chinese

การเรียนภาษาจีนมีมาอยู่คู่กับชุมชนชาวจีนมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่ไม่มีความต่อเนื่อง บางช่วงก็สอนกันอย่างสง่าผ่าเผย บางช่วงเทบจะต้องสอนกันแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ตามแต่สถานะการณ์ทางการเมือง จึงทำให้-ลูกหลานคนจีนในประเทศไทยเป็นจีนแต่เพียงหน้าตา “ตี๋-หมวย” เท่านั้น
แต่ปัจจุบันนี้ กระแสจีนเริ่มก่อกระแสแรงไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นหากแต่แรงไปทั่วโลก โรงเรียนสอนภาษาจีนจึังอาศัยเกาะตามกระแสเปิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีถ้าหากแต่ละโรงเรียนที่เปิดขึ้นมารักษาคุณภาพในการเรียนการสอน จริง ๆ ก่อนที่จะถึงวันนี้ กระทรวงศึก-ษาธิการเองก็เคยกำหนดหลักสูตรภาษาจีน เป็นวิชาเลือกในระดับมัธยมและอาชีวะกันก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เนื่องจากผู้สอนไม่ใช่ผู้ที่เรียนภาษาจีนมาอย่างแตกฉาน เป็นเพียงแต่ “เคยเรียนมาบ้าง” เสียงส่วนใหญ่ อีกทั้งสำเนียงที่สอนก็ไม่เป็นสากล เนื่องจากสอนออกเสียงตามภาษาแต้จิ๋วส่วนผู้เรียนก็มุ่งเรียนเพื่อให้ครบหน่วยกิตเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย ถือเป็นการสูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง
การเรียนภาษาจีนอาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะสำ-หรับคนที่เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เนื่องจากภาษาจีนเป็นคำโดด ไม่ใช่เกิดจากการผสมต้ัวพยัญชนะและสระอย่างภาษาอังกฤษ หรือภาษา-ไทย เฉพาะตัวอักษรที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันก็มีถึงหลายพันตัวแล้ว อีกอย่างการจะอ่านภาษาจีนได้ก็ต้องศึกษาวิธีการสะกดเทียบเสียงในอดีตเราจะใช้ตัวจู้ยิน 注音 หรือคนที่เคยเรียนจีนมาบ้างอาจเรียก เปอเพอ เมอ เฟอ ซึ่งต้องเสียเวลาเรียนเป็นสัปดาห์กว่าจะเรียนตัวอักษรจีนจริง ๆ ได้ แต่ปัจจุบันนี้ รัฐบาลจีนซึ่งคงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึังได้ปฏิรูประบบการศึกษาภาษาจีนใหม่เพื่อให้ง่ายขึ้น อย่างน้อยผลจากการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดก็มีสองประเด็นคือ 1. การเปลี่ยนระบบการสะกดคำและเทียบเสียงจากจู้ยิน 注音 เป็นแบบพิงยิน 拼音 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากตัวสัญลักษณ์จุ้ยินเป็นการใช้ตัวพยัญชนะและตัวสระภาษาอังกฤษแทน เนืื่องจากภาษาอังกฤษมีการเรียนในทุกประเทศอยู่แล้ว 2. เปลี่ยนรูปตัวอักษรภาษาจีนให้เขียนง่ายขึ้น เช่นจากเดิมการเขียนหนึ่งตัวอักษรอาจต้องเขียนถึงสิบกว่าขีด ก็ลดลงมาเหลือ 6-7 ขีดเป็นต้นตัวอย่างเช่นจาก 国际 กั๊วจี้ก็เปลี่ยนรูปเป็น 国际
แต่การสะกดและเทียบเสียง ระจะต้องระมัดระวังที่จะจำปะปนกับวิธีที่เราเคยชินอยู่แล้ว เช่น ตัว “Z” ปรกติเราจะเคยชินออกเสียงเป็น ซ “Q” ปรกติเราจะเคยชินออกเสียงเป็น ค หรือ คว ส่วน “E” เป็นสระ-อี หรือสระ-เอ ในมาตรฐานในการเทียบเสียงของจีนตัว Z เป็น จ ตัว Q ออกเสียงเป็น ช ส่วน E ออกเสียงเป็นสระ-เออ ดังตัวอย่างเช่น เหมาเจ๋อตงเรามักออกเสียงเป็น เมาเซตง ตามภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนตามวิธีการเทียบเสียงแบบพิงยิน คือ mao-ze-dong หรือ qin ออกเสียง ชิง เป็นต้น

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

มาฟังเพลง จีน และ ฝึกร้องตามไปด้วยกันเถอะ


Title: Chuan Shuo 传说
(End Theme song Taiwan Version)
Artist: Yoga Lin You Jia, Liu Li Yang
............................................
女:宇宙洪荒那時候
yu zhou hong huang na shi hou
When the universe is flooded  
第一句愛是誰說出口
di yi ju ai shi shui shuo chu kou
Who will the be first to say a sentence of love  
當時的他 如何形容
dang shi de ta ru he xing rong
The person at that time will they need to be described  
對方 聽懂不懂
dui fang ting dong bu dong
The person receiving will they understand
男:開天闢地了以後
kai tian pi di le yi hou
After the sky and earth has opened up  
第一對戀人什麼結果
di yi dui lian ren shen me jie guo
What is the result of the first pair of lovers  
洞穴湖泊 日升月落
dong xue hu po ri sheng yue luo
Caves and rivers the rising of the sun and the setting of the moon  
他們 愛了多久
ta men ai le duo jiu
How long have they loved each other  
如果我們那時就相遇
ruo guo wo men na shi hou jiu xiang yu
If at that time, we meet  
會不會愛得比較放心
hui bu hui ai de bi jiao fang xin
Would we have loved in a more relaxed way
合:也許分離 還没被發明 來折磨愛情
ye xu fen li hai mei bei fa ming
Maybe to be separated was still not invented yet
男:一千次輪迴都不錯過
yi qian ci lun hui dou bu cuo guo
A thousand times reincarnation would not go amiss
女:一萬里相隨都不放手
yi wan li xiang sui dou be fang shou
Ten thousand times would not let go
合:在每個盡頭 再約好碰頭
zai mei ge jin tou zai yue hao peng tou
At every end will arrange to meet   
再睜開眼 就認出你我
zai zheng kai yan jiu ren chu ni wo
Open your eyes again and recognise me and you
女:一千次輪迴足不足夠
yi qian ci lun hui zu bu zu gou
A thousand times of reincarnation is it enough
男:一萬里漂泊又算什麼
yi wan li piao bo you suan shen me
What does ten thousand times of drifting mean
合:這人海遼闊 愛總被磋跎
zhe ren mei liao kuo ai zong bei cuo tuo
This person who is so vast love is always being hindered  
總該 留一篇傳說
zong gai liu yi pian chuan shuo
Should always leave a passage of legend
合:我会尽我全力 抵抗时间的侵袭
wo hui jing wo quan li di kang shi jian de qin xiI
will try my very best to resist time’s invasion
不停的爱你 HOHO......
bu ting de ai niI
will not stop loving you
男:一千次輪迴都不錯過
yi qian ci lun hui dou bu cuo guo
A thousand times reincarnation would not go amiss
女:一萬里相隨都不放手
yi wan li xiang sui dou be fang shou
Ten thousand times would not let go
合:在每個盡頭 再約好碰頭
zai mei ge jin tou zai yue hao peng tou
At every end will arrange to meet   
再睜開眼 就認出你我
zai zheng kai yan jiu ren chu ni wo
Open your eyes again and recognise me and you
女:一千次輪迴足不足夠
yi qian ci lun hui zu bu zu gou
A thousand times of reincarnation is it enough
男:一萬里漂泊又算什麼
yi wan li piao bo you suan shen me
What does ten thousand times of drifting mean
合:這人海遼闊 愛總被磋跎
zhe ren mei liao kuo ai zong bei cuo tuo
This person who is so vast love is always being hindered  
總該 留一篇傳說
zong gai liu yi pian chuan shuo
Should always leave a passage of legend
女:OH 还好我有你
Oh hai hao wo you ni
It’s a good thing I still have you
男:幸好你有我
xin hao ni you wo
Thank goodness you still have me
合:一起写一篇传说
yi qi xie yi pian chuan shuo
Let’s write a legend together

ปรัชญาจีน ช่วยได้ ( เมื่อมีปัญหาชีวิต )


เราเคยลองคิดบ้างไหมว่า คำแค่สั้นๆ หรือ อาจจะเป็นแค่หนึ่งประโยคๆก็สามารถช่วยให้กำลังใจของเราได้


^^ วันนี้ก็เลยนำเอา ปรัชญาจีน มาให้อ่านเพื่อเพิ่มกำลังใจกันนะจร้าาา



1.สิ่งที่แข็งที่สุด เอาชนะได้ด้วยสิ่งที่อ่อนที่สุด
2.เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งก็เปิด แต่บ่อยครั้งที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิด จนไม่ทันเห็นอีกบานที่เปิดอยู่
3.อย่ามัวแต่มองหาความผิดพลาด จงมองหาทางแก้ไข
4.ผู้ชนะไม่เคยลาออก และผู้ลาออกก็ไม่เคยชนะ
5.เราเข้าใจชีวิต เมื่อมองย้อนหลังเท่านั้น แต่เราต้องดำเนินชีวิตไปข้างหน้า
6.ไม่มีสิ่งใดช่วยให้คุณได้เปรียบคนอื่น เท่ากับการควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลา ในทุกสถานะการณ์
7.พรสวรรค์ยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือ การที่เราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา
8.ในธรรมชาติไม่มีสิ่งใดดีพร้อม แต่ทุกอย่างก็สมบูรณ์แบบในตัวเเอง ต้นไม้อาจบิดเบี้ยวโค้งงออย่างประหลาด แต่ก็ยังคงความงดงาม
9.มักพูดกันว่า กาลเวลาเปลี่ยนทุกสิ่ง แต่จริงๆแล้วคุณต้องเปลี่ยนทุกสิ่งด้วยตัวคุณเอง
10.การมีชีวิตอยู่นานเท่าใดไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคุญก็คือ มีชีวิตอยู่อย่างไร

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

เหตุผลที่ ภาษาจีน (แมนดาริน) ยังเป็นรอง


เรียนรู้พื้นฐาน การเขียนตัวหนังสือจีนอย่างถูกต้อง จากพื้นฐานของเส้นขีด แบ่งออกเป็น 4 ตอนดังนี้

ตัวหนังสือจีน และโครงสร้าง
ตัวหนังสือจีนมีประวัติศาสตร์นับย้อนหลังได้กว่า 3000 ปี มักทราบกันว่า ตัวหนังสือจีน นั้นเหมือน ภาพวาด ของสิ่งของชีวิตความเป็นอย ู่ที่มีมาแต่ในอดีต เช่นเดียวกับ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ตามผนังถ้ำต่างๆ แต่ได้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเหมือนตัวหนังสือลักษณะสี่เหลี่ยม

ตัวหนังสือจีน จะแตกต่างตามอักขระในภาษาทั่วไป ซึ่งจะเขียนผสมตัวอักษรเข้าเป็นคำศัพท์ แต่ตัวหนังสือจีน แต่ละตัวจะไม่ต้องอาศัยการผสม เนื่องจากไม่มีอักขระ และในตัวหนังสือแต่ละตัวมี ความหมายที่สมบูรณ์ ตัวหนังสือจีนจะถูกเขียนโดยใช้เส้นขีดหลายลักษณะ รวมกว่า 30 แบบ


ใน 30 เส้นแบบ จะมีเพียงเส้นขีดพื้นฐาน อยู่ 8 ขีด ซึ่งเส้นขีดที่เหลือจะแปรผันรูปลักษณะไปจาก เส้นขีด 8 ขีดนี้เพียงเล็กน้อย การเขียนตัวหนังสือจีน โดยใช้เส้นขีดนั้น จะมีกฎในการเขียนและลำดับ เส้นขีดที่แน่นอน ซึ่งเป็นกฎครอบคลุมทั่วไป แต่เนื่องจากความซับซ้อน และวิวัฒนาการของตัวหนังสือ ทำให้ การเขียนบางตัวจะมีกฎยกเว้น หรือกฎพิเศษของมันเอง ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงทั้งหมดในที่นี้

ตัวหนังสือจีน ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวหนังสือเดี่ยว และตัวหนังสือผสม
ตัวหนังสือเดี่ยว คือตัวหนังสือที่เขียนโดยเส้นขีด มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว ไม่สามารถแบ่งย่อยลงไป
ตัวหนังสือผสม คือตัวหนังสือที่ประกอบไปด้วย อย่างน้อย 2 องค์ประกอบ หรือส่วนข้าง (หมายถึง ส่วนของตัวหนังสือที่มีตำแหน่งอยู่ส่วนข้างซ้าย, ข้างขวา, ข้างบน, ข้างล่าง, ข้างนอก หรือ ข้างใน) ผสมเข้าด้วยกัน เป็นตัวหนังสือ ส่วนข้างนี้บางตัวก็เป็นรากศัพท์ ซึ่งบ่งบอกความหมาย
ส่วนข้างบาง ตัวก็ใช้บ่งบอกเสียง ช่วยให้การ ค้นหาศัพท์ในพจนานุกรมจีนทำได้ง่าย ( ดูเทคนิคการค้นหาศัพท์ ในพจนานุกรมจีน )

การเข้าใจกฎในการเขียนตัวหนังสือจีน จะช่วยให้การเขียนและอ่านตัวหนังสือจีนเป็นไปอย่างง่ายดาย

เส้นขีดพื้นฐาน 8 ขีด จากทั้งหมดกว่า 30 ขีด
เราเริ่มจากเส้นขีด 8 ขีด และจะแสดงสรุปเส้นขีดอื่นๆ ที่เหลือด้วย


เส้นนอน ลากจากซ้ายไปทางขวา
เส้นลากลงไปทางซ้าย ลากจาก บนขวา ลงไป ล่างซ้าย
เส้นลากลงไปทางขวา ลากจาก บนซ้าย ลงไป ล่างขวา
จุด ลากจากบน ลงล่างขวา (ลากจากบน ลงล่างซ้าย)
เส้นตรงดิ่ง จากบนลงล่าง
เส้นขีดบางเส้นลากตวัดเป็นรูปตะขอ
เส้นลากขึ้นไปทางขวา ลากจากล่างซ้ายไปบนขวา
เส้นขีดหักมุม มี 2 แบบ เส้นนอนหักลง เส้นดิ่งลากลงหักขวา

ตัวอย่างเส้นขีด ที่แปรผันจากเส้นขีดที่ตวัดเป็นรูปตะขอ (gou)
เส้นนอนที่ตวัดเป็นตะขอลง
เส้นตั้งที่ตวัดเป็นตะขอซ้าย
เส้นโค้งยาวงอเป็นรูปตะขอขวา
เส้นโค้งสั้นงอเป็นรูปตะขอขวา
เส้นตั้งงอที่ตวัดเป็นตะขอซ้าย

เส้นขีดผสมจากเส้นขีดพื้นฐาน 8 ขีด

เส้นนอนตวัดลงซ้าย
เส้นนอนหักลงเป็นเส้นดิ่งแล้วตวัดเป็นตะขอ
เส้นนอนหักลงแล้วตวัดขึ้นบนขวา
เส้นนอนหักลงเป็นโค้งสั้นแล้วตวัดเป็นตะขอ
เส้นนอนหักลงแล้วต่อด้วยเส้นโค้งล่างซ้ายตะขอ
เส้นนอนหักลงแล้วต่อด้วยเส้นโค้งลงไปทางซ้าย
เส้นดิ่งแล้วงอไปทางขวาตวัดเป็นตะขอ
เส้นดิ่งลงหักขวาแล้วหักลงล่างตวัดเป็นตะขอ
เส้นดิ่งลงหักขวา
เส้นดิ่งลงแล้วลากขึ้นบนขวา
เส้นลากลงล่างซ้ายแล้วหักเป็นเส้นนอนไปทางขวา
เส้นลากลงล่างซ้ายแล้วลากลงขวาล่างสั้น

กฎของลำดับเส้นขีด ในการเขียนตัวหนังสือจีน
ทั่วไปแล้ว ตัวหนังสือจีน จะมีมากกว่า 2 ขีด ดังนั้นจะเขียนตัวหนังสือจีน จะต้องมีลำดับการขีด
เส้นนอนก่อนเส้นตั้ง เส้นนอน หรือเส้นผสมที่มีเส้นนอนจะถูกเขียน ก่อน เส้นดิ่งหรือเส้นลากลง ไม่ว่าซ้ายหรือขวา เช่น

เส้นลากลงทางซ้าย ก่อนเส้นลากลงทางขวา เช่น

จากบน ลงล่าง เช่น

จากซ้าย ไปขวา เช่น

จากนอก เข้าใน เช่น

ยกเว้น ส่วนประกอบที่ห่อหุ้มส่วนประกอบอื่น ไม่ว่าจะทางซ้าย, ขวา หรือ ล่างก็ตาม ส่วนประกอบที่ ถูกห่อหุ้มจะถูกเขียนก่อน เช่น


สรุป เส้นนอน ต้องลากจากซ้ายไปขวาเท่านั้น ไม่สามารถเขียนจากขวาไปซ้ายได้
เส้นตรงดิ่ง ต้องลากจากบนลงล่างเท่านั้น ไม่สามารถลากเส้นจากล่างขึ้นบนได้
เส้นลากลงทางขวา ต้องลากจากบนซ้ายลงล่างขวา ไม่สามารถลากจากล่างขวาขึ้นบนซ้ายได้
เส้นลากลงทางซ้าย ต้องลากจากบนขวาลงล่างซ้าย ไม่สามารถลากจากล่างซ้ายขึ้นบนขวาได้

ลักษณะเส้นขีด ผิดนิดเดียว ทำให้ตัวหนังสือเป็นคนละตัว
ตัวหนังสือประกอบไปด้วยจำนวนเส้นขีดและลักษณะเส้นขีดที่แน่นอน ดังนั้นการอ่านหรือเขียน ตัวหนังสือ ต้องมีความละเอียดในการสังเกตุลายเส้น เช่น
ตัวอย่าง 1 ตัว และ ต่างกันตรงขีดแรก ถ้าเป็นขีดเส้นนอน (heng2) จะเป็น ออกเสียง (tian1) หมายถึง ท้องฟ้า, สวรรค์ แต่ถ้าขีดแรกเป็นเส้นลากจากขวาบน ลงซ้ายล่าง (pie3) จะเป็น ซึ่งออกเสียง yao1 หมายถึง ตายตอนอายุน้อย ก่อนเวลาควรจะเป็น

ความยาวของเส้นขีด และช่องว่างระหว่างขีด ก็มีผลทำให้เป็นตัวหนังสือคนละตัว
ตัวอย่าง 2 ตัว ใน
ถ้าขีดสั้น ก็จะเป็น ซึงออกเสียง (ru4) หมายถึง เข้า, ร่วม แต่ถ้ามีช่องว่างระหว่าง เส้นก็จะเป็น ออกเสียง (ba1) หมายถึง แปด

และยังต้องให้ความสำคัญกับ การที่เส้นขีดสัมผัส หรือตัดกัน เช่น ตัว ตัดกับเส้นนอนเส้นแรก ก็จะกลายเป็นตัว ออกเสียง (fu1) หมายถึง สามี, ผู้ชาย

จำนวนเส้นขีดในตัวหนังสือ มีจำนวนแน่นอน ไม่สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ เช่น ถ้าเพิ่มขีดเส้นนอน จะเป็น หรือ แต่ถ้าลดลงจะเป็น

ตำแหน่งของขีด จะมีตำแหน่งแน่นอน การเปลี่ยนตำแหน่งของเส้นขีด จะทำให้เป็นตัวหนังสือคนละ ตัว เช่น ส่วนประกอบ 2 ส่วนของตัว ถ้าสลับกันจะเป็น ซึ่งออกเสียงเป็น pei2 หมายถึง พาเที่ยว
แต่ถ้า เราใส่ตำแหน่งจุดเปลี่ยนไป เช่นจาก เป็น ก็จะออกเสียง (ฉวน quan3) หมายถึง สุนัข,หมา

ข้อยกเว้น กฎข้างต้นเป็นกฎทั่วไป ซึ่งมีปลีกย่อยซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ถูกครอบคลุมโดยกฎดังกล่าว เช่น
เช่น กรณีเป็นสี่เหลี่ยมปิด ให้เขียนเส้นแรกของกรอบนอกก่อน แล้วจึงเขียนส่วนที่ถูกห่อหุ้มภายใน แล้วปิดกรอบนอก ด้วยเส้นนอนใต้สุด ดังตัวอย่าง


เส้นขีดกลางก่อนเส้นซ้ายขวา เมื่อมีเส้นขีดกลางที่อยู่ตรงกึ่งกลาง และเป็นตำแหน่งเด่น และไม่มีเส้นอื่นลากตัด หรือมีเส้นใต้ขีดกลางนั้น ให้ลากเส้นขีดกลางก่อน เช่น


แต่ถ้ามีเส้นอื่น ลากตัดเส้นขีดกลาง หรือไม่มีเส้นอื่นอยู่ใต้เส้นขีดกลางนั้น ให้ลากเส้นตรงดิ่งหลังสุด (แทนที่จะลากก่อน)

"ตัวหนังสือจันมีเยอะ จำยาก ๆ ๆ ๆ "
............อาจเพราะเหตุผลนี้เองมั้ง ที่ภาษาจีนไม่ได้เป็นภาษาโลก............



ที่มา..http://www.china2learn.com/lesson/stroke.shtml